fbpx

ตลาดผู้ผลิตรถยนต์ไทยน่าเป็นห่วง แรงงานไทยเสี่ยงตกงานกว่า 7 แสนคน

ล่าสุดได้มีรายงานจาก KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกมาระบุว่า สถานการณ์อุตสาหะกรรมยานยนต์ไทยในขณะนี้มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง อยู่ภาวะซ้ำรอยออสเตรเลีย หลังค่ายรถจากญี่ปุ่นปรับตัว-แผนผลิตรถอีวี แรงงาน ไทยกว่า 7 แสนคนเสี่ยงได้รับผลกระทบ

หากย้อนไปในช่วงทศวรรตที่ 1970s ประเทศออสเตรเลีย ถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ส่งออกเป็นลำดับที่ 10 ของโลก โดยในตอนนั้นพวกเขามีกำลังผลิตรถยนต์ได้มากถึง 500,000 คันต่อปี แต่เชื่อหรือไม่ว่าในปัจจุบันในออสเตรเลียผลิตรถยนต์เฉลี่ยเพียงปีละ 5,000 คันเท่านั้น สาเหตุเนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่น ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย ซึ่งในตอนนี้เรากำลังจะเจอกับสถานการณ์ที่ออสเตรเลียเจอเมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในขณะนี้กระแส รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV กำลังมาแรง แต่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นกลับปรับตัวได้ช้าจากแผนการผลิตรถยนต์ EV ที่น้อยกว่ารถยนต์ค่ายยุโรปและอเมริกามากพอสมควร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อประเทศไทยโดยตรงเนื่องจากเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ญี่ปุ่น คล้ายกับบริษัทรถยนต์อย่าง GM-Holden ในออสเตรเลียที่ไม่ปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลก โดยเงียบหายไปในที่สุด

หนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญในวงการยานยนต์ที่กำลังมาแรงนั่นก็คือ ประเทศจีน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาประเทศจีนมีสัดส่วนการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจาก 0.7% เป็น 1.5% ขณะที่ประเทศไทยกลับมีสัดส่วนลดลงจาก 1.7% เหลือเพียง 1.3% ซึ่งจีนเข้ามาแย่งตลาดส่งออกในประเทศออสเตรเลีย ส่วนอินโดนีเซียแย่งส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและฟิลิปปินส์

มูลค่าเพิ่มหลักกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ Li-Ion Battery ซึ่งไทยแทบไม่มีบทบาทในการผลิตแบตเตอรี่ และเสียเปรียบคู่แข่ง (ประเทศจีน) ในหลายแง่มุม โดยประเทศไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน ซึ่งการผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก โดยบริษัท CALT ในจีนครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดในการเข้าตลาดสำหรับคู่แข่งรายใหม่

อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญก็คือ รถที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นรถยนต์สำหรับประเทศ “พวงมาลัยขวา” ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 6 ของโลก เมื่อเจอกับปัญหาตลาดในประเทศที่หดตัวลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนแบ่งในตลาดโลกที่ลดลง และการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้คนน้อยลงทำให้ปริมาณการผลิตมีความสำคัญมากขึ้นมาก จะทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุนหรือการประหยัดต่อขนาด ในขณะที่การเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายก็ทำได้ยาก

 อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือการที่ไทยมีข้อตกลง FTA กับประเทศจีน ซึ่งส่งผลให้สามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่มีภาษี และการนำเข้ารถยนต์ EV จากจีนมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการผลิตเองภายในประเทศ เพราะปริมาณการการผลิตรถยนต์ EV ที่จีนมีขนาดใหญ่กว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่า และไม่มีความจำเป็นที่ไทยต้องนำเข้าชิ้นส่วน เช่น แบตเตอรี่มาประกอบเอง สถานการณ์คล้ายกับออสเตรเลียในอดีตที่เริ่มมี FTA กับไทยและท้ายที่สุดนำเข้ารถยนต์จากไทยแทน

ในปัจจุบันมีแรงงานที่อยู่อุตสาหกรรมยานยนต์ราวๆ 7-8 แสนคน ซึ่งหากทางภาครัฐและเอกชนของไทยยังไม่มีการปรับตัว ก็เป็นเรื่องน่าห่วงว่าในอนาคต แรงงาน เหล่านี้คงจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : advicecenter.kkpfg.com / marketeeronline.co / prachachat.net / freepik.com

 

รับชมข่าวสารยานยนต์ที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

บทความที่น่าสนใจ

เผยแล้ว Chevrolet Captiva รถอเนกประสงค์รุ่นใหม่เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เทอร์โบ เริ่มต้น 999,000 บาท

Peng

MG4 EV รถไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดจาก Morris Garage เปิดตัวกันยายนนี้ ในสหราชอาณาจักร

Nopkung

เปิดตัว Honda Civic Hatchback ใหม่ สปอร์ตขึ้นด้วยชุดแต่ง RS ราคา 1.229 ล้านบาท

Peng

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy