ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 11,733 คัน ลดลง 65.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 28,685 คัน ลดลง 47.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 23,137 คัน ลดลง 47.5%
สำหรับ 10 อันดับค่ายรถยนต์ ที่ทำสถิติยอดขายรถยนต์สูงที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 39,827 คัน โดย 10 อับดับนี้จะมีค่ายไหนบ้างไปดูกันเลยค่ะ…
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2563 ของ 10 อันดับค่ายรถยนต์ | ||
แบรนด์ | ยอดขายเดือนพฤษภาคม 2563 | |
Toyota |
13,611 |
ลดลง 53.7% |
10,130 | ลดลง 35.3% | |
Honda |
4,178 | ลดลง 62.8% |
Mitsubishi |
2,767 | ลดลง 62.1% |
Nissan |
2,671 | ลดลง 50.4% |
Mazda |
1,602 | ลดลง 61.7% |
Suzuki |
1,425 | ลดลง 38.0% |
MG |
1,402 | ลดลง 38.3% |
Ford |
1,390 | ลดลง 70.1% |
Hino |
651 | ลดลง 38.4% |
จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ยอดขายในตลาดรถยนต์รวมเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ทยอยประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้บางธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนเริ่มทยอยกลับมาดำเนินงาน ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงอยู่ในช่วงของการค่อยๆ ฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังมีความระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่ รวมถึงภาครัฐฯ ยังได้ออกมาตรการดูแลและเยียวยาเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย
สำหรับเดือนมิถุนายนนี้ จากการที่ภาครัฐฯ ได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ในระยะที่ 3 และการควบคุมสถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และได้มีการคลายล็อกระยะที่ 4 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 มิถุนายน โดยให้กิจการและกิจกรรมอีกหลายประเภทกลับมาดำเนินธุรกิจได้ภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตามประชาชนยังต้องเฝ้าระวัง และป้องกันการใช้ชีวิตตามมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนจะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง