fbpx

5 อันดับอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด พร้อมแนวทางรับมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์อันดับ 1 ในไทย

5 อันดับอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดพร้อมแนวทางรับมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์อันดับ 1 ในไทย

จากข้อมูลด้านการเคลมของ ไดเร็ค เอเชีย พบว่าในช่วงครึ่งปี 2564 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์2+, ชั้น 2, ชั้น 3+ และชั้น 3 ที่เกิดอุบัติเหตุและได้เข้าแจ้งเคลมกับเจ้าหน้าที่ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น 19% จากปี 2563 สอดคล้องกับรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน (Thai RSC) เผยตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงมากกว่าปี 2563 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ถึงแม้ประเทศไทยจะยังอยู่ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดที่ส่งผลให้การเดินทางลดน้อยลง แต่อุบัติเหตุยังถือว่ามีจำนวนไม่น้อยและยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยยอดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคมมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บสะสมสูงถึง 570,071 ราย และเสียชีวิต 8,776 ราย โดยอุบัติเหตุมากกว่า 90% มีสาเหตุมาจากผู้ขับขี่ขับรถโดยประมาท และ 28% เกิดจากปัจจัยด้านถนนทั้งนี้ปัจจัยด้านอื่นยังมีผลต่ออุบัติเหตุด้วย เช่น ปัญหาไฟส่องสว่าง สัญญาณเตือนทางจราจร หรือป้ายบอกทางเป็นต้น นอกจากนี้ ไดเร็ค เอเชีย ยังเผยข้อมูลด้านการเคลมประกันรถยนต์ของผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุ โดยมีจำนวนการแจ้งเคลมหรือแจ้งเหตุฉุกเฉินเกือบ 30,000 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น ซึ่งแต่ละเหตุการณ์ได้สร้างความเสียหายต่อรถยนต์และผู้ขับขี่โดยประเมินมูลค่าความเสียหายสูงสุดกว่า 498,000 บาทต่อคันเลยทีเดียว

สำหรับอุบัติเหตุรถยนต์ที่เกิดขึ้นบ่อยมากที่สุด ไดเร็คเอเชีย ได้สรุปรวมมาให้ทั้งหมด 5 อันดับ พร้อมข้อควรปฏิบัติของผู้ขับขี่ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้รถใช้ถนนขับขี่อย่างระมัดระวัง และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

อันดับ 1 ขับรถด้วยความประมาทจนชนรถคันอื่น

อันดับ 2 รถเสียหลักพลิกคว่ำ หรือรถตกข้างทาง

อันดับ 3 ขับรถชนต้นไม้หรือทรัพย์สินเนื่องจากทัศนวิสัยไม่ดี

อันดับ 4 หักรถหลบสิ่งกรีดขวางหรือตัดหน้ารถคันอื่นแบบกระชั้นชิด

อันดับ 5 เฉี่ยวชน รวมถึงสัตว์วิ่งตัดหน้ารถ

 

รู้ไว้! ช่วยลดภัยทางถนน

จากอุบัติเหตุทั้ง 5 อันดับสะท้อนให้เห็นว่าผู้ขับขี่ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เสี่ยง รวมถึงทัศนวิสัยและสภาพแวดล้อมของท้องถนนด้วยเช่นกัน แต่สถิติการตายไม่ได้มีไว้ให้ทำลาย ดังนั้น ร่วมกันปรับพฤติกรรมสักนิดเปลี่ยนทัศนคติสักหน่อย ก่อนสตาร์ตรถขับบนท้องถนนควรปฏิบัติดังนี้

 

ไม่ประมาท

หากผู้ขับขี่มีพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น เล่นมือถือขณะขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด หรือง่วงแล้วขับ นั่นเป็นสัญญาณของความประมาทเลินเล่อที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อตนเองและผู้ขับขี่ท่านอื่น ให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการประเมินความพร้อมของผู้ขับขี่ทั้งก่อนและขณะขับขี่ทุกครั้ง ในกรณีที่ต้องตัดสินใจในสถานการณ์บนท้องถนน ให้คิดก่อนแล้วจึงปฏิบัติ ไม่ควรรีบร้อน และที่สำคัญควรมีสติอยู่เสมอ

ปฏิบัติตามกฎจราจร

สำหรับผู้ที่ใช้รถใช้ถนนมาเป็นเวลานาน อาจเคยชินและไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องเล็กน้อยที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ อย่างการไม่เปิดไฟเลี้ยวขณะขับขี่ถึงแม้จะเป็นซอยเล็กก็ไม่ควรมองข้ามและสร้างความเข้าใจผิดให้รถคันหลัง รวมไปถึงสัญญาณไฟจราจรที่ส่วนมากยังคงใช้ผิดวิธี ในความเป็นจริงผู้ขับขี่ควรออกรถเมื่อสัญญาณไฟสีเขียวขึ้น สีเหลืองให้เตรียมหยุดไม่ใช่รีบเร่ง และสีแดงคือให้หยุดหลังเส้นหยุดรถ ที่สำคัญผู้ขับขี่ควรสังเกตป้ายจราจรขณะขับ เพื่อให้แน่ใจว่าจะต้องขับขี่อย่างไรบนเส้นทางที่กำลังเดินทางด้วยเช่นกัน

ทำประกันรถยนต์

อุบัติเหตุบางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากการชนเสมอไป โดยเฉพาะกรณีรถเสียจอดอยู่ข้างทางแล้วเกิดอุบัติเหตุชนซ้ำ นับว่ามีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากถนนหลายเส้นทางในประเทศไทยอาจมีทัศนวิสัยไม่อำนวยต่อการขับขี่มากนัก รวมถึงการเข้าถึงความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในกรณีฉุกเฉิน ในบางพื้นที่อาจจะยังมีความยากลำบากในการติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนั้นการทำประกันรถยนต์อาจทำให้ผู้ขับขี่สบายใจหรือปลอดภัยมากขึ้นหากมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยให้เลือกทำประกันรถยนต์ที่มีการันตีด้านการเคลมที่รวดเร็ว มีอู่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น รถยก-รถลาก จะช่วยให้ผู้ขับขี่ได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

นอกจากแนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุแล้ว ไดเร็ค เอเชีย อยากให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงตามมาคือความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เอง รวมถึงการรับผิดชอบต่อความเสียหายที่สูงลิ่ว โดยเฉพาะรถยนต์ที่ไม่ได้ทำประกันภัย อาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาลที่นอกเหนือจากพ.ร.บ.คุ้มครอง และหากโชคร้ายมีผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุร่วมด้วย ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบต่อรถคู่กรณีหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลที่สามด้วยเช่นกัน แต่นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจัดงานศพในกรณีเสียชีวิต ค่าประกันตัว หรือค่าดำเนินคดีในกรณีต้องขึ้นศาล ดังนั้นอุบัติเหตุเพียงหนึ่งครั้งอาจมีมูลค่าสูงกว่าค่าเบี้ยประกันหนึ่งปีเสียด้วยซ้ำ หากครั้งนี้ผู้ขับขี่ยังมีเงินในบัญชีเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีอะไรมาการันตีว่าอุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นอีก คำถามต่อมาคือ ถึงวันนั้นผู้ขับขี่จะยังมีเงินจ่ายไปอีกกี่ครั้ง? หรือต้องสร้างหนี้ก้อนโตไปอีกกี่หน?

ในวันที่โชคดี การขับขี่ราบรื่น สภาพแวดล้อมสดใส ก็อาจทำให้ลืมไปว่ายังมีวันอื่นอีกมากมายที่ไม่ได้เป็นใจสำหรับการขับขี่เท่าไรนัก การเตรียมตัวที่ดีคือการมีแผนสำรอง พร้อมรับความเสี่ยงและเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในอนาคต ไดเร็ค เอเชีย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ขับขี่ ให้ทุกเส้นทางมีแต่ความมั่นใจ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โทร 02-767-7777 หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลม โทร 02-767-7788


 

บทความที่น่าสนใจ

ไขข้อสงสัย มีอะไรอยู่ภายในรถยนต์ไฟฟ้า?

idiot

พาชม Toyota Crown Crossover ร่างเปิดประทุนหนึ่งเดียวในโลกโดยวิศกร Toyota

idiot

ของเหลวต่างๆ ในรถยนต์ควรเปลี่ยนถ่ายที่ระยะทางเท่าไหร่ดี?

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy