fbpx

รู้หรือไม่! คลัทช์หมด มีอาการอย่างไร

ในทุกวันนี้เทคโนโลยีรถยนต์นั้นมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนจำนวนมากลืมคิดถึงชิ้นส่วนสำคัญๆ อย่างคลัทช์ ที่แม้ปัจจุบันรถยนต์จะเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติ แต่คลัทช์ที่อยู่ในทุกส่วนที่ต้องถ่ายทดกำลังยังเป็นชิ้นส่วนสำคัญเสมอ

หากกล่าวถึงคลัทช์แล้ว หลายๆ คนคงไม่เคยเจออาการคลัทช์หมด ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหญ่พอๆ กับเครื่องโอเวอร์ฮีทเลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้รถไม่สามารถไปต่อได้ และนอกจากคลัทช์จะทำให้รถไม่สามารถขับต่อไปได้แล้ว ยังอาจทำให้ระบบเกียร์พังคาที่ ถ้าหากคุณรู้เท่าไม่ถึงการณ์

แน่นอนว่าของทุกอย่างมันมีสัญญาณบ่งบอกลางร้ายก่อนที่มันจะเกิดขึ้นเสมอ เพียงแต่ว่าคุณจะใส่ใจมันหรือไม่ แต่ถ้าตอนนี้คุณใช้รถมือสองหรือรถที่มีอายุนานกว่า 10 ปี มีระยะทางผ่านมาแล้ว 1.5-2 แสนกิโลเมตร ไม่ว่าจะเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติ จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเช็คคลัทช์เสียที

การตรวจเช็คคลัทช์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด และสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองโดยไม่ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญ เพียงแต่คุณต้องจับความรู้สึกให้ได้ว่ารถคุณกำลังต้องการจะบอกอะไรกับคุณ แล้วลองทำตามดังนี้

  • คลัทช์ลื่น นี่เป็นอาการเริ่มต้นที่คุณควรจะสนใจ และมันเป็นลางร้ายที่บอกคุณก่อนที่คลัทช์ของคุณจะหมด อาการคลัทช์ลื่นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ

1. คลัทช์ใกล้หมด ซึ่งมีสาเหตุใหญ่มาจากผ้าคลัทช์ที่เริ่มบาง

2.เครื่องมีกำลังเกินกว่าที่คลัทช์ จะรับได้ ซึ่งมักจะพบในรถยนต์กลุ่มที่มีการโมดิฟายเครื่องยนต์เท่านั้น

หากรถคุณไม่ได้โมเครื่อง แน่นอนว่า นี่เป็นสาเหตุของอาการคลัทช์ใกล้หมดที่เริ่มบ่งชี้อาการว่ารถของคุณกำลังผิดปกติ

  • ความเร็วลดลงในรอบเครื่องเท่าเดิม บางครั้งในรถยนต์บางรุ่น คุณอาจไม่พบอาการคลัทช์ลื่นก็เป็นไปได้ แต่นี่อาจเป็นอาการที่ 2 ที่คุณอาจพบได้โดยเฉพาะในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ที่ยากมากที่คุณจะสังเกตอาการคลัทช์ลื่น บางครั้งถ้าคุณพบว่าที่ความเร็วเท่าเดิม แต่ใช้รอบเครื่องสูงขึ้นกว่าเดิม หรือรอบเครื่องเท่าเดิม แต่ได้ความเร็วต่ำกว่าที่เคยทำได้ นั่นก็เป็นอาการหนึ่งของคลัทช์ลื่นที่ช่วยเตือนคุณก่อนคลัทช์จะหมด
  • ขึ้นเนินชันได้ช้ากว่าปกติ บางครั้งทั้ง 2 อาการ ขั้นต้นคุณอาจจะยังไม่พบ แต่ถ้าคุณสามารถสังเกตได้ว่า รถเริ่มไต่เนินได้ช้าหรือต้องลดจังหวะเกียร์เพื่อขึ้นเนิน ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่จำเป็นนั้น นี่เป็นอาการเริ่มต้นของอาการคลัทช์บาง ที่เป็นต้นเหตุของอาการคลัทช์หมด

จากทั้ง 3 อาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้คุณสามารถสังเกตได้ และมักพบถ้ารถคุณเริ่มมีอาการคลัทช์ใกล้หมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามปกติแล้วคลัทช์ 1 ชุดจะมีอายุการใช้งานที่ 150,000-200,000 กิโลเมตร หากคุณต้องการให้คลัทช์ใช้งานได้นานๆ ควรจะต้องรู้จักวิธีการใช้คลัทช์ให้ถูกต้อง ดังนี้

  • อย่าเลี้ยงคลัทช์ หลายคนมักนิยมเหยียบแช่คลัทช์ไว้ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า “เลี้ยงคลัทช์” โดยเฉพาะใครก็ตามที่นิยมขับรถในเขตเมืองการเหยียบคลัทช์แช่ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง และสำหรับเกียร์อัตโนมัติ นี่คือคำตอบที่ดีสำหรับใครที่ถามว่าทำไมต้องเปลี่ยน D เป็น N ทั้งๆ ที่ติดไม่นาน เพราะในเจ้าตัว Torque Convertor นั้น มันก็มีคลัทช์เช่นกัน
  • อย่าเหยียบคลัทช์โดยไม่จำเป็น โดยตามปกติแล้วเราจะต้องใช้งานคลัทช์นั้นก็ต่อเมื่อ เราต้องการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งนั่นเป็นจังหวะเดียวที่เราจะใช้ ดังนั้นใครที่ใช้คลัทช์บ่อยๆ โดยไม่จำเป็นก็จะทำให้คลัทช์หมดไวเกินความจำเป็น
  • อย่าพักเท้าที่คลัทช์ หลายคนมักจะชอบพักเท้ารอที่คลัทช์ เพื่อรอจังหวะเปลี่ยนเกียร์ แต่ความจริงแล้วมันเป็นพฤติกรรมที่ผิด เพราะเพียงน้ำหนักนิดเดียวที่กดลงแป้นก็อาจทำให้จานกดคลัทช์หนีห่างจากฟลายวีล และทำให้คลัทช์สึกหรอมากกว่าปกติได้
  • หลีกเลี่ยงการทำคลัทช์ไหม้ นี่เป็นเรื่องที่ต้องจำเอาไว้เลยสำหรับขาลุยที่ชอบออกตามต่างจังหวัด การขับรถทางไกล โดยเฉพาะใครที่ขึ้นเขาลงห้วยบ่อยๆ ควรที่จะพยายามหลีกเลี่ยงการทำคลัทช์ไหม้ให้ดี เพราะการทำคลัทช์ไหม้นี้จะทำให้หน้าสัมผัสของคลัทช์เสื่อมไวกว่าปกติ และท้ายที่สุดแล้วมันก็จะเป็นอาการเรื้อรังไปถึงคลัทช์หมด

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของคลัทช์ที่เราอยากให้คุณรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับใครก็ตามที่ไม่เคยได้มีโอกาสสังเกตรถที่ใช้งานทุกวัน สุดท้าย เราอยากให้กฏข้อหนึ่งไว้ว่า “เราดูแลรถ แล้วรถจะดูแลเรา” และมันจะไม่งอแงยามที่คุณเรียกใช้ ซึ่งอาการคลัทช์หมดนี้ปัจจุบันหลายคนไม่ทราบจริงๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อคุณกำลังพูดถึงรถระบบเกียร์อัตโนมัติที่ก็มีคลัทช์ทำงานอยู่ข้างในเช่นกัน ความจริงเสียงของรถมักจะมีอาการเตือนล่วงหน้า เพียงแต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใส่ใจมันหรือเปล่าก็แค่นั้นเอง


 

บทความที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักกับผ้าชามัวร์มากขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่ามันวิเศษมาก เพราะไม่ได้มีไว้แค่เช็ดรถยนต์เท่านั้น

idiot

เลือกน้ำมันเครื่องที่ใช่ ไม่ใช่เรื่องยาก

idiot

เทคนิคการเลือกซื้อกล้องติดรถยนต์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy