fbpx

เทคนิคการเลือกซื้อกล้องติดรถยนต์ ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไปไม่ได้เลยว่า “กล้องติดรถยนต์” นั้นได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในรถของหลายๆ คน เนื่องจากมันสามารถช่วยบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบข้างได้ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือเพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการอ้างอิงหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

แต่ในทุกวันนี้กล้องติดรถยนต์ที่มีขายในตลาดมีมากมายหลากหลายรุ่น หลายราคา แล้วเราจะเลือกซื้ออย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานของเราล่ะ เราลองไปพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้กันดีกว่า

  • ความละเอียด/ความคมชัดของภาพ

สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกล้องติดรถยนต์ คือ ไฟล์ภาพวีดีโอที่ได้จะต้องคมชัด สามารถมองเห็นเลขทะเบียนรถคันอื่นได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีผลในกรณีอุบัติเหตุชนแล้วหนี จะช่วยให้สามารถติดตามคู่กรณีได้สะดวกขึ้น แทนที่จะต้องอาศัยการจำป้ายทะเบียนคู่กรณีเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดได้

ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ผลิตหลายรายจะโฆษณาว่ากล้องของตนสามารถบันทึกภาพแบบ HD หรือ Full-HD ได้ ซึ่งจริงๆ Full HD 1080p ก็เพียงพอแล้ว แต่อีกสิ่งที่อยากแนะนำให้ดูคือค่า FPS (Frame Per Second) ที่ตัวกล้องอัดได้ ปรกติแล้วจะอยู่ที่ 20-30 FPS แต่ถ้าหากสูงกว่า 30 FPS ภาพที่ได้จะเนียนตายิ่งขึ้น 

  • เลนส์มุมกว้าง

กล้องติดรถยนต์ที่ดีควรใช้เลนส์มุมกว้าง อย่างน้อยต้องให้มองเห็นเสาตัวรถด้านหน้าทั้ง 2 ข้างในเวลาเดียวกัน เผื่อกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากทางด้านข้าง จะช่วยยืนยันว่าใครผิดใครถูกได้ ถึงแม้ว่าเลนส์มุมกว้างจะทำให้ภาพที่ได้ผิดเพี้ยนจากความจริงไป แต่ปกติเราใช้กล้องติดรถยนต์เพื่อยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น จึงไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องนี้ บางรุ่นอาจใช้เลนส์ Fish Eye ที่เพิ่มมุมมองด้วย

  • ถ่ายกลางคืนได้ดี

การขับรถในเวลากลางคืนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุกว่าช่วงกลางวัน ดังนั้น กล้องติดรถยนต์จะต้องบันทึกวีดีโอในที่ที่มีแสงน้อยได้ดี สามารถอ่านเลขทะเบียนรถคันอื่นได้ชัดเจนไม่แพ้ในเวลากลางวัน

  • มีระบบล็อคไฟล์อัตโนมัติ

กล้องติดรถยนต์ควรมีระบบล็อคไฟล์อัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะอาศัยการทำงานของ Accelerometer (หรือที่ผู้ผลิตกล้องติดรถยนต์มักเรียกว่า G Sensor) เพื่อตรวจจับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น และจะป้องกันไฟล์วีดีโอไม่ให้ถูกลบหลังเกิดเหตุ เผื่อมีความจำเป็นต้องเปิดดูในภายหลัง

  • รองรับความจุของเมมโมรี่

กล้องส่วนใหญ่สามารถเลือกอัดได้ว่าอยากได้ความคมชัดระดับไหน ชัดมากก็ได้ไฟล์ใหญ่ ซึ่งกล้องแต่ละตัวก็รองรับชนิดเมมโมรี่และขนาดความจุได้ไม่เท่ากัน เช็กดี ๆ อย่าพลาดไปซื้อกล้องที่รับเมมโมรี่ได้เพียงแค่ 32 GB. เข้าล่ะ ไม่เช่นนั้นอาจบันทึกวิดีโอได้ไม่ครบวันเลยด้วยซ้ำ โดยปกติกล้องติดรถยนต์จะมีการบันทึกในระบบ Loop ซึ่งจะทยอยลบไฟล์วีดีโอที่เก่าที่สุดออกไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับไฟล์ใหม่ ดังนั้น ยิ่งเมมโมรี่มากขึ้น ก็จะยิ่งช่วยรักษาไฟล์วีดีโอในเครื่องได้ยาวนานยิ่งขึ้น สามารถเรียกดูไฟล์ย้อนหลังได้มากขึ้น

  • ฟังก์ชั่นของกล้อง

แต่ละรุ่นมักจะชูจุดขายแตกต่างกันไป แต่ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่ขอแนะนำให้เช็ก คือ บันทึกเสียงได้ชัด, มีจอเล่นไฟล์บันทึกได้ทันที, ระบบป้องกันการสั่น, ระบบตัดรอบระยะการบันทึกได้ (ไม่ทำให้ไฟล์วิดีโอใหญ่เกินไป), ไฟล์ที่บันทึกเป็นสกุลที่เราต้องการ, แสดงวันที่และเวลาในไฟล์บันทึก, บันทึกทับไฟล์เก่าอัตโนมัติ, ระบบอินฟาเรดที่ช่วยบันทึกยามแสงน้อยมาก ๆ

  • ราคาที่เหมาะสม

กล้องติดรถมีหลายรุ่น ตั้งแต่ราคาไม่กี่พันไปจนถึงหลายหมื่น จึงควรเลือกตามคุณสมบัติที่เหมาะสม อย่างบางรุ่นมีฟังก์ชันมาก ราคาสูง หากมีงบถึงก็ซื้อได้ตามที่สะดวก แต่หากพิจารณาแล้ว บางรุ่นที่คุณสมบัติพอ ๆ กัน ก็อาจจะมีแบบที่ราคาถูกกว่า หรือมีบางคุณสมบัติที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ ก็เลือกซื้อรุ่นที่มีฟังก์ชันน้อยลงมาหน่อย ราคาถูกลง และเหมาะกับผู้ใช้จะดีกว่า

  • การรับประกันหลังการขาย

กล้องราคาถูกหรือร้านค้าในอินเทอร์เน็ตมักจะไม่มีประกัน ถ้าจะเลือกของดีมีคุณภาพและรับประกันดี ๆ จ่ายราคาแพงกว่าหน่อย ก็น่าจะดีกว่าซื้อของถูกที่หากเสียเมื่อไหร่ก็ทิ้งได้เลย

สำหรับปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงคุณสมบัติพื้นฐานของกล้องติดรถยนต์ที่สมควรมี ส่วนอ็อพชั่นเสริมนอกเหนือจากนี้ เช่น การเชื่อมต่อจีพีเอส, รองรับภาษาไทย ฯลฯ ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละคน หวังว่าบทความนี้คงช่วยให้ท่านที่กำลังมองหากล้องติดรถอยู่สามารถเลือกซื้อได้ของที่มีคุณภาพน่ะครับ


 

บทความที่น่าสนใจ

5 ความลับเกี่ยวกับเกียร์ธรรมดา ที่ทำให้คนรักรถทั่วโลกต่างหลงใหล

idiot

5 สิ่งที่อยากบอกคนขับรถเกียร์อัตโนมัติว่าอย่าหาทำ!

Peng

ระวัง.!! อย่าเสียค่าโง่ “ให้กับ โบรคเกอร์ ผี”

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy