fbpx

10 อันดับ! ชิ้นส่วนรถยนต์ที่คุณต้องควักกระเป๋าเปลี่ยนบ่อยที่สุด

หากคุณมีรถ คงเลี่ยงไม่ได้กับการที่จะต้องควักกระเป๋าสตางค์จ่าย ไม่ว่าจะค่าน้ำมัน ค่าตกแต่งรถ หรือแม้กระทั่งค่าซ่อมแซมรถ ถ้าหากเป็นรถใหม่ภาระค่าใช้จ่ายอาจจำกัดอยู่ในงบประมาณหนึ่ง แต่ถ้าหากเป็นรถที่ผ่านการใช้งานมานานหลายปี หรือรถที่ถูกใช้งานอย่างหนักนั้นอาจจะต้องมาพร้อมกับภาระค่าใช้จ่ายที่มากยิ่งขึ้น วันนี้เราลองมาดูกันสิว่า 10 อันดับชิ้นส่วนในรถยนต์ที่เราต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด จะมีอะไรกันบ้าง..

1.น้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องถือเป็นปัจจัยหลักในการหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนตามกำหนดทุกครั้ง หรือหากตรวจพบว่าน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ก็สามารถเปลี่ยนก่อนกำหนดได้เลย เพราะนั่นอาจเป็นการบ่งบอกว่าน้ำมันเสื่อมสภาพแล้ว

 

ระยะเวลาในการเปลี่ยน ทุกๆ 5,000 – 10,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ประเภทน้ำมันเครื่อง)

2. ผ้าเบรค

ผ้าเบรคเป็นชิ้นส่วนที่ส่งผลต่อความปลอดภัยโดยตรง หากผ้าเบรคใกล้หมด จะมีเสียงดังเอี๊ยดเกิดขึ้นขณะเหยียบเบรค บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนได้แล้ว หากยังดึงดันที่จะใช้ต่อแล้วล่ะก็ อาจทำความเสียหายกับจานเบรคได้ ซึ่งมีราคาแพงกว่าผ้าเบรคหลายเท่าตัวทีเดียว

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 50,000 – 70,000 กิโลเมตร (หากใช้งานในเมืองอายุจะสั้นกว่า)

3. แบตเตอรี่

แบตเตอรี่มีทั้งแบบแห้งและเปียก โดยแบบแห้งไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาใดๆ ตลอดอายุการใช้งาน แต่หากเป็นแบบเปียกนั้นจำเป็นต้องมีการเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับอยู่เสมอเพื่อให้แบตเตอรี่สามารถเก็บประจุไฟได้อย่างเต็มที่

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 2-3 ปี แล้วแต่การใช้งาน แบตเปียกควรเช็คน้ำกลั่นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

4. ไส้กรองอากาศ

เครื่องยนต์จำเป็นต้องได้รับอากาศบริสุทธิ์ในการเผาไหม้จำนวนมาก ดังนั้น ไส้กรองอากาศจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าไปยังเครื่องยนต์ ซึ่งหากมีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมากก็จะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ กำลังเครื่องยนต์ก็จะลดลง

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร และเป่าทำความสะอาดทุกๆ 3,000-5,000 กิโลเมตร

5. น้ำมันเกียร์และไส้กรองน้ำมันเกียร์

ระบบเกียร์มีชิ้นส่วนประกอบที่เป็นโลหะเข้าด้วยกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบทั่วไป, แบบ CVT หรือแบบ Dual-clutch ซึ่งมีการเคลื่อนที่ภายในห้องเกียร์ตลอดเวลา จึงมีอัตราการสึกหรอสูง น้ำมันเกียร์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการสึกหรอดังกล่าว ไม่ให้ระบบเกียร์กลับบ้านเก่าไปก่อนวัยอันควร หากใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดเศษโลหะในน้ำมันเกียร์ที่เป็นอันตรายต่อระบบเกียร์ได้

ส่วนน้ำมันเกียร์แบบ Long-life นั้น แม้ว่าผู้ผลิตจะระบุว่าสามารถใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน แต่ก็ควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายบ้าง เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานระบบเกียร์

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 20,000 – 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นของรถ

6. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงพบได้ทั้งรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล โดยมีหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำที่มากับน้ำมันที่เราเติมตามปั๊มนั่นเอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ แล้วจะทำให้ไส้กรองตันจนแรงดันน้ำมันไปยังเครื่องยนต์ไม่พอ ส่งผลให้ครื่องยนต์มีอาการเร่งไม่ขึ้น กระตุก หรือสตาร์ทติดยากได้

ระยะเวลาเปลี่ยนประมาณ 2 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นของรถ

7. หลอดไฟต่างๆ

ควรตรวจเช็คหลอดไฟต่างๆ รอบตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า (ไฟต่ำ, ไฟสูง, ไฟหรี่), ไฟเลี้ยวทั้ง 4 มุมรวมถึงด้านข้าง, ไฟท้าย, ไฟเบรค ไฟถอยหลัง, ไฟตัดหมอก ฯลฯ ว่าติดครบทุกดวงหรือไม่ หลอดไส้แบบฮาโลเจนนั้นมีโอกาสขาดได้ง่ายกว่าแบบ Xenon และ LED มาก การขับรถผ่านทางขรุขระบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้หลอดขาดได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

ระยะเวลาเปลี่ยน เปลี่ยนเมื่อหลอดขาด

8. สายพานไทม์มิ่ง

เครื่องยนต์ทั่วไปมีสายพานจำนวนหลายเส้นช่วยขับเคลื่อนเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์ เช่น สายพานไทม์มิ่ง, สายพานคอมแอร์, สายพานเพาเวอร์, สายพานปั๊มน้ำ ฯลฯ แล้วแต่รุ่นรถ แต่หากสายพานไทม์มิ่งซึ่งเป็นสายพานหลักของเครื่องยนต์ขาดจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างรุนแรง

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 100,000 กิโลเมตร

9. หัวเทียน

หัวเทียนส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ หากหัวเทียนเก่าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์สะดุด ทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งหัวเทียนแบบปกติมีราคาไม่แพง สามารถซื้อหามาเปลี่ยนได้ง่าย

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 40,000 กิโลเมตร

10. ยางปัดน้ำฝน

อากาศที่ร้อนอบอ้าวของเมืองไทย อาจส่งผลทำให้อายุการใช้งานยางปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ดังนั้น หากยางปัดไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงควรรีบเปลี่ยนทันที โดยเฉพาะเมื่อเข้าหน้าฝน

ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 1 ปี


 

บทความที่น่าสนใจ

วิเคราะห์ ทำไมศูนย์บริการถึงให้ “ป้ายแดงปลอม” กับลูกค้าที่ซื้อรถใหม่ ?

Nopkung

รู้มั๊ย..! ความหมายของจุดสีเหลือง สีแดง และแถบสีบนยาง คืออะไร?

idiot

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ “เครื่องยนต์โรตารี่” สุดยอดเครื่องยนต์ยุค 90s จาก Mazda

Nopkung

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy