Cover-Takata-Airbag

นี่คือสาเหตุที่ถุงลม Takata ถูกเรียกเคลมจากบริษัทรถยนต์ทั่วโลก

เมื่อไม่นานมานี้ทางสภาองค์กรผู้บริโภค ได้ออกประกาศให้ผู้ที่ใช้รถยนต์ ให้นำรถที่ใช้ถุงลมนิรภัยยี่ห้อทาคาตะ (Takata) เข้ารับการเปลี่ยนถุงลมนิรภัยลูกใหม่ หลังพบความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตให้กับผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้ยังมีรถยนต์ในไทยกว่า 6 แสนคันที่ยังมีการติดตั้งถุงลมนิรภัยอันตรายนี้อยู่

Takata
รายชื่อรถที่ต้องเปลี่ยนถุงลมจากบริษัทผู้ผลิต

 

ว่าแต่ทำไมเจ้าถุงลมจากบริษัท “ทาคาตะ” ถึงได้มีอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนโดยเร่งด่วน ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รถยนต์ทั่วโลกที่ใช้ถุงลมของบริษัทนี้ก็ต้องเข้ารับการแก้ไขปัญหาเช่นกัน วันนี้ทีมงาน CarVariery จะมาไขข้อข้องใจ ว่าเจ้าถุงลมตัวนี้อันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารอย่างไร ?

Takata

ทาคาตะ ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย (Air Bag) ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 89 ปี โดยในช่วงแรกนั้นพวกเขาเป็นผู้ผลิตเชือกสำหรับร่มชูชีพ ก่อนที่ในช่วงปี 1950 พวกเขาจะเริ่มผลิตเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ ก่อนที่จะเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังมากมาย รวมถึงเข็มขัดนิรภัยสำหรับมอเตอร์สปอร์ตสีเขียว ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักซิ่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

Takata Seatbelts
เข็มขัดนิรภัย Takata ที่ได้รับความนิยมจากนักซิ่งทั่วโลก

สำหรับปัญหาการเรียกคืน Air Bag นั้นมีสาเหตุมาจาก ปัญหาของตัวอัดอากาศ ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำงานไม่เป็นปกติจนทำให้ในบางครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถุงลมอาจไม่สามารถป้องกันผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบเอาไว้ และที่อันตรายกว่านั้นคือ อาจมีชิ้นส่วนของระบบอัดอากาศ ซึ่งอาจหลุดออกมาในขณะที่ถุงลมทำงาน และมันส่งผลให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง

 

Takata Aribag-1
ชิ้นส่วนที่หลุดออกมา ในขณะที่ถุงลมนิรภัย ทาคาตะ ทำงาน

และนี่คือหนึ่งในผู้โชคร้าย ซึ่งเขาโดยชิ้นส่วนโลหะในระบบอัดอากาศของถุงลม Takata กระเด็นใส่ดวงตาอย่างเต็มๆ ซึ่งมันทำให้เขาเสียดวงตาด้านขวา และต้องใส่ดวงตาเทียมตลอดชีวิต และยังมีรายงานออกมาระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากถุงลมนิรภัยทาคาตะ มากกว่า 25 คนทั่วโลก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทาคาตะเจอปัญหาในลักษณะนี้ เนื่องจากในปี 1995 ยังได้มีการเรียกเคลมเข็มขัดนิรภัยมากกว่า 8 ล้านชุดที่ถูกติดตั้งในรถยนต์ญี่ปุ่นที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงปี 1986 ถึง 1991 เนื่องจากปัญหาสลักล๊อกของเข็มขัดนิรภัยสามารถปลดล๊อกได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก

Takata

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทาคาตะต้องเสียเงินในการเยียวยาผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ และความเสียหายต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เป็นจำนวนมาก และในปี 2018 พวกเขาตัดสินใจยื่น ล้มละลาย โดยได้มีบริษัทจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาซื้อกิจการต่อในราคาราวๆ 1,600 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : facebook.com/60Minutes9

รับชมข่าวสารยานยนต์อื่นๆที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

บทความที่น่าสนใจ

การสนับสนุนมาตรฐานประหยัดน้ำมันที่เข้มงวดของชาวอเมริกัน

admin bell

AMG GLE 63 Coupe ใหม่ เสริมด้วยขุมพลังไฮบริด เค้นกำลังออกมาได้กว่า 603 แรงม้า

idiot

Toyota สรุปยอดขายรถยนต์ปี 61 พร้อมตั้งเป้าปีนี้ขอ 3.3 แสนคัน

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy