ในขณะที่ค่ายรถต่าง ๆ ต่างออกมาแถลงถึงยอดขายในครึ่งปีแรกว่า ตลาดรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น คนหันมาออกรถป้ายแดงมากขึ้น แน่นอนรถป้ายแดงมีมากขึ้นตามท้องถนน วันนี้ Carvariety จึงมาแนะนำข้อปฏิบัติแล้วข้อห้ามต่าง ๆ ในการใช้ “ป้ายแดง” ว่ามีอะไรบ้างที่คุณยังไม่รู้ และ ควรรู้
ป้ายแดง คืออะไร?? ป้ายแดง คือ ป้ายที่ทางราชการ อนุญาตให้นำมาใช้ทดแทนป้ายทะเบียนจริง เนื่องจากการขออนุมัติหรือจดทะเบียนต้องใช้เวลาในการดำเนินเรื่อง เพื่อให้ผู้ออกรถใหม่นำมาใช้งานได้ก่อนชั่วคราวโดยไม่ต้องรอป้ายจริง เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎกติกาที่ตั้งไว้ ซึ่งมีข้อจำกัดดังนี้
1.ห้ามใช้รถป้ายแดงวิ่งข้ามเขต สำหรับป้ายแดงนั้นมีข้อจำกัดในการวิ่งคือวิ่งได้ในเฉพาะ จังหวัดที่ระบุตามแผ่นป้ายเท่านั้น เช่น หากป้ายแดงของคุณเป็นป้ายกรุงเทพมหานคร คุณก็สามารวิ่งได้แต่ในกรุงเทพ ห้ามออกนอกจังหวัด มิเช่นนั้น จะถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย หากมีความจำเป็น เจ้าของรถจะได้รับ อนุญาตจากนายทะเบียน และต้องมีหลักฐาน เอกสารพร้อมลายเซ็นของนายทะเบียน และอย่าลืมบันทึกการใช้งานลงในคู่มืออย่างละเอียด
2.ห้ามใช้รถในยามวิกาล โดยตามกฎหมายกำหนดนั้นช่วงเวลาที่อนุญาตให้นำรถป้ายแดงออกมาวิ่งบนท้องถนนได้ คือ 6 โมงเช้า – 6 โมงเย็น แต่ด้วยความโกลาหล ของการจราจรบ้านเราอันเลื่องชื่อนั้น เลยขยายเวลาให้วิ่งได้ดึกสุดถึง 2 ทุ่ม มิเช่นนั้นระวังโดนจับ ปรับ ไม่รู้ตัว
3.จดบันทึกการใช้รถลงในสมุดคู่มือทุกครั้ง เนื่องจาก กฎหมายจราจรมาตรา 28 (ในการขับรถยนต์มาตรา 27) ระบุไว้ว่า ผู้ขับขี่จะต้องบันทึกรายการการใช้รถลงในสมุดคู่มือเสมอ ถ้าไม่อยากฝ่าฝืนกฎหมาย ควรใส่ข้อมูล ดังนี้
- ชื่อ-นามสกุล ผู้ขับขี่
- รายละเอียดต่างๆของรถ ชื่อยี้ห้อ รุ่น หมายเลขตัวถัง
- วันเดือนปี และเวลา ที่ใช้รถ จากระยะเวลาที่นำรถออกไปใช้ จนถึงจุดหมาย
- จุดประสงค์ในการใช้รถยนต์แต่ละครั้ง
ซึ่งบางท่านอาจละเลยในส่วนนี้ไปเพราะอาจมองว่ารายละเอียดเยอะ แต่เพื่อผลประโยชน์แก่ตัวท่านแล้ว เขียนไว้ก็ไม่เสียหาย
4.ระยะเวลาที่สามารถใช้ป้ายแดง คือ 30 วัน เท่านั้น!! หากคุณใช้เกินกว่านั้นถือว่าผิดกฎหมาย มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีและ ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร (พรบ.) ที่กำหนดไว้ว่า ให้รถใหม่สามารถใส่ป้ายทะเบียนสีแดงได้เพียง 30 วันเท่านั้น และมีโทษปรับจากการใช้ป้ายแดงเกินระยะเวลาที่กำหนด อยู่ที่ 10,000 บาท
ทั้งนี้สำหรับใครที่ออกรถใหม่ป้ายแดง อยากให้ทราบข้อควรปฏิบัติข้างตนเอาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเอง จะได้ไม่หลงทำผิดกฎ เพราะ กฎหมายนั้นมีผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ คิดในแง่ดีเวลาจะถูกคนเอาเปรียบเรายังมีความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายมาใช้งัดกับบุคคลที่ไม่หวังดี ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อผลประโยชน์แก่ตัวท่านเอง