fbpx

เครื่องยนต์เบนซิน เหนือกว่าด้วยแรงม้า.. เครื่องยนต์ดีเซล เจ๋งกว่าเรื่องแรงบิด? ..โจทย์นี้จะเลือกอย่างไร..!!

สัปดาห์นี้ Carvariety มีข้อมูลรวบรวมนำมาเสนอกันเช่นเคย ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาแนะนำในเรื่องของ หัวใจ อ่ะๆๆ เดี๋ยวๆๆ หัวใจที่บอกมันเป็นหัวใจของรถยนต์ นั่นก็คือ เครื่องยนต์ นั่นเอง! ..ส่วนหัวใจคนขับหรือคนนั่ง งานนี้ไปช่วยเหลือตัวเองกันนะครับ .. เพราะทางผู้เขียนเองเรื่องของหัวใจและความรักเป็นเรื่องที่ไม่ถนัด ชีวิตมัก อกหัก..รักคุด..ตุ๊ดเมิน เป็นประจำล่ะครับ ซึ่งทำรัยไม่ได้นอกจากทำใจ ..!!

มาๆ เข้าเรื่องเลยดีกว่า จั่วหัวชัดๆ กันไปเลย “เครื่องยนต์ดีเซล กับ เบนซิน .. แบบไหนดีกว่ากัน” .. งานชิงดีชิงเด่น งัดความ เจ๋ง ออกมาโม้ แบบนี้ต้องจัดกันแล้ว!! ใครติ่งดีเซล ใครติ่งเบนซิน แชร์ความคิดเห็นกันได้ งานนี้แฟร์ๆ ไม่มีกีดกันล่ะครับ

(เครื่องยนต์ดีเซลในรถยนต์ Mercedes-Benz)

(เครื่องยนต์เบนซินในรถยนต์ BMW)

จริงๆ แล้วที่หยิบยกเรื่องนี้มานำเสนอก็เพราะว่าทั้ง เครื่องยนต์เบนซิน และ เครื่องยนต์ดีเซล ในปัจจุบันนี้ มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เรียกว่าการพัฒนาทั้ง 2 ประเภทเครื่องยนต์ จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ทลายขีดจำกัดไปอย่างมากมาย ในอดีตเราเห็นเครื่องยนต์ดีเซล อยู่ในรถกระบะ แต่ทุกวันนี้เครื่องยนต์ดีเซลยังถูกยัดใส่ในรถเก๋งก็มากมาย แม้แต่ค่ายรถหรูอย่าง เบนซ์ หรือ บีเอ็ม เองก็ยังเคยยัดเจ้าเครื่องยนต์ดีเซล ลงในรถเก๋งผู้ดีหลายรุ่นอยู่เหมือนกัน หรือ แม้แต่เครื่องยนต์เบนซินเองในปัจจุบัน ลดขนาดความจุกระบอกสูงลง แต่แรงม้า ยังสามารถผลิตได้มหาศาลและที่สำคัญยังประหยัดเชื้อเพลิงอีกด้วย งานนี้ถ้าใครจะมองรถใหม่ ผมเชื่อว่าประเภทเครื่องยนต์ มันก็เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเช่นกัน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการทำงานของเครื่องยนต์ ในแต่ละประเภทกันก่อนดีกว่าครับ ว่าแต่ละประเภทนี้ ระบบการทำงานเป็นอย่างไร

ระบบการทำงานเครื่องยนต์เบนซิน
ขออธิบายแบบบ้านๆๆ ไม่ใช้ศัพท์หรือหลักการทาง ฟิสิกส์เชิงกลเดี่ยวมันจะยาวและเข้าใจยาก ดังนั้นง่ายๆ ในเครื่องยนต์เบนซิน หรือที่เรียกกันว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีนสาเหตุที่เรียกอย่างนี้ก็เป็นเพราะว่าเป็นเครื่องยนต์ที่รองรับการใช้เชื้อเพลิงได้ทั้ง น้ำมันเบนซิน / โซฮอล / แก๊ส หรือ เอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งในปัจจุบันเครื่องยนต์เบนซินได้พัฒนา และ มีการทำงานของเครื่องยนต์ ในแบบ 4 จังหวะ (4 Stroke)

หลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ ก็ประกอบด้วย จังหวะ ดูด+ อัด+ ระเบิด + คาย โดยมีหัวเทียนเป็นตัวจุดประกายไฟ และ มีหัวฉีดเป็นตัวฉีดจ่ายละอองน้ำมันเข้าไปเพื่อใช้ในการเผาไหม้ เครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายในเครื่องยนต์ มีการทำงานตามจังหวะการทำงานตามรอบเพื่อสร้างพลังงานในการไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนเกิดกำลังในการขับเคลื่อน

ในอดีตมีการใช้คาร์บูเรเตอร์ เป็นตัวผสมอากาศเข้ากับน้ำมัน แต่เนื่องจากความแม่นยำในการผสมและจุดระเบิดทำได้ไม่ดีมากนัก ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ และ มีกล่อง ECU และ เซ็นเซอร์ เข้ามาทำการควบคุมในเรื่องส่วนผสม ทำให้เครื่องยนต์สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์และสามารถลดการปล่อยก๊าซไอเสียออกมาได้เป็นอย่างดี

เครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบันเป็นเครื่องยนต์ ที่สามารถสร้างแรงม้าได้สูงแต่ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง และที่สำคัญการพัฒนาในระบบการจุดระเบิดและกำลังอัดภายในของเครื่องยนต์ สามารถทำได้ดีขึ้นมากๆ จะเห็นว่าในยุคสมัยนี้ เครื่องยนต์ที่ความจุกระบอกสูงที่น้อย แต่สามารถสร้างแรงม้าได้อย่างมหาศาล ซึ่งอาจอาศัยการทำงานของระบบเทอร์โบที่เข้ามาช่วยในเรื่องการอัดอากาศ หรือ การทำระบบวาวล์ให้เป็นในระบบวาวล์แปรฝัน เพื่อเปิดอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้มากขึ้นตามรอบและสถานการณ์ใช้งาน

ระบบการทำงานเครื่องยนต์ดีเซล
ในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลก็ไม่ได้น้อยหน้ากว่าเครื่องยนต์เบนซิน เพราะจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซล ก็ได้พัฒนามาหลายขั้นเลยทีเดียว จากเดิมที่เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ในงานบรรทุก งานกำลัง งานฉุดลากต่างๆ ก่อนจะติดเครื่องยนต์ได้ต้องเสียเวลาในการเผาหัวให้ร้อนถึงจะทำการสตารท์เครื่องยนต์ได้ แต่ในยุคปัจจุบันทุกอย่างเปลี่ยนไป เครื่องยนต์ดีเซลมีการทำงานใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซินมากขึ้น

เครื่องยนต์ดีเซลในยุคปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นเครื่องยนต์ในแบบดีเซลคอมมอลเรล ที่มีการเผาไหม้ได้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้นติดตั้งระบบเทอร์โบเข้าไปเพื่อเติมเต็มในเรื่องสมรรถนะ ซึ่งเทอร์โบเองก็ไม่ธรรมดายังเป็นระบบเทอร์โบแปรฝันซะด้วยจึงไม่แปลกที่ในยุคสมัยนี้ เครื่องยนต์ดีเซล จึงเป็นเครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและไม่ถูกเบือนหน้าหนีเหมือนในสมัยก่อน

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลในยุคใหม่นี้ ก็จะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีระบบการทำงานในแบบ 4 จังหวะ เช่นกัน ซึ่งประกอบด้วย จังหวะ ดูด + อัด + ระเบิด + คาย โดยมีหัวฉีดเป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิง แต่แตกต่างกับเครื่องยนต์เบนซินในส่วนที่ไม่มีหัวเทียนในการจุดระเบิด โดยเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้วิธีการจุดระเบิดด้วยกำลัดอัดจนเกิดความร้อนเมื่อได้รับเชื้อเพลิงก็จะเกิดการระเบิดเพื่อผลิตเป็นกำลังในการขับเคลื่อน

เครื่องยนต์ดีเซลในยุคปัจจุบันมีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาควบคุมทั้งในเรื่องของอากาศ และการจ่ายเชื้อเพลิง ทำให้ภาพเครื่องยนต์ดีเซลจากอดีตที่ปล่อยควันดำนั้นหายไป เครื่องยนต์สามารถคายไอเสียได้ต่ำลงเพราะการจ่ายเชื้อเพลิงเป็นไปในปริมาณที่เหมาะสม และนอกจากนั้น การติดตั้งระบบเทอร์โบ เข้าไปก็สามารถสร้างพละกำลังในเรื่องของแรงบิดแรงม้าได้มากมายมากขึ้นเลยทีเดียว

(New Mercedes-Benz E220d เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบที่พัฒนาขึ้นใหม่)

“เครื่องยนต์เบนซินเหนือกว่าด้วยแรงม้า.. แต่เครื่องยนต์ดีเซล เจ๋ง กว่าเรื่องแรงบิด”
2 ตัวแปรทั้ง แรงม้ากับแรงบิด งานนี้หักล้างกันไม่ลง ..!!

การที่จะฟันธงชี้ชัดไปเลยว่าเครื่องยนต์แบบไหน เจ๋ง !! กว่ากันมันเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะความชอบกับสไตล์ในเรื่องการใช้งานของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน อีกทั้งตัวแปรในเรื่องราคาเชื้อเพลิงต่อลิตรก็มีราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราคงต้องมองการใช้งานและความชอบของแต่ละท่านๆ เป็นหลัก แล้วล่ะคับ เพราะว่า ถ้าจะถามว่าเครื่องยนต์ดีเซล แรงบิดดี ขึ้นเขาทางลาดชันคดเคี้ยวได้..เครื่องยนต์เบนซินก็ทำได้เช่นกัน

เครื่องยนต์ดีเซลสร้างแรงม้าได้น้อยกว่าเครื่องยนต์เบนซิน..แต่สุดท้ายเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท ก็สามารถทำความเร็วสูงสุดที่ทำได้ ก็ไม่แตกต่างกัน .. แตกต่างเพียงแค่ช่วงเวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น..แต่ใครจะไปใช้ความเร็วสูงสุดในระดับ180-200 กว่าๆ ได้ตลอดเวลา ล่ะ?

(NEW SERIES-7 740Li เครื่องยนต์เบนซินแบบ 6 สูบแถวเรียงรุ่นใหม่)

เครื่องยนต์ดีเซล อึด ทน ถึก กว่า .. แต่เครื่องยนต์ เบนซิน ก็ไม่ได้ อ่อนแอ ปวกเปียก ซะที่ไหนล่ะ

เครื่องยนต์ดีเซล ทำงานเสียงดัง .. เครื่องยนต์เบนซิน เดินนิ่งเงียบกว่า .. มันก็เป็นเรื่องในอดีต ซึ่งในสมัยนี้เครื่องยนต์ดีเซลเดินเงียบ เดินนิ่ง ไม่ได้แตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน

ถ้าจะหาความแตกต่างที่ชัดเจนได้ ก็เพียงแค่ราคาเชื้อเพลิง (น้ำมัน) ที่มีราคาต่อลิตรแตกต่างกันอย่างชัดเจนเพียงเท่านั้น .. ต้องถามใจตัวเองกันแล้วล่ะครับว่างานนี้ จะสายดีเซล หรือ เบนซิน เพราะทั้ง 2 สาย เทคโนโลยี มันล้ำสมัยด้วยกันทั้งคู่ล่ะครับ ซึ่งถ้าจะเลือกลุยขึ้นทางชันฉุดกระชากลากถูบ่อยๆ เน้นงานบรรทุก งานนี้คบดีเซลไปโลด แต่ถ้าเน้นวิ่ง ฉิว หล่อๆ สวยๆ ในเมือง นอกเมือง จะเลือกคบเบนซินก็ไม่ผิด เพราะโลกแห่งยานยนต์เปิดกว้างเลือกได้ตามความชอบไปเลยครับ


 

บทความที่น่าสนใจ

ไม่น่าเชื่อ “รถสีดำ” มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่า “รถสีขาว” ถึง 12 เปอร์เซ็นต์

Nopkung

ลบริ้วรอยขนแมวแบบง่ายแสนง่าย ด้วยของใช้ในชีวิตประจำวัน

idiot

หนูกัดสายไฟในรถยนต์ จะป้องกันยังไงดี!?

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy