สายเขียวต้องรู้ “สูบกัญชา” สามารถขับรถได้หรือไม่ !!

อยากที่ทราบกันว่า กัญชา ได้รับการปลดล๊อคที่รัฐบาลไทยเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยในขณะนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วง “สูญญากาศ” ซึ่งยังไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัดสำหรับ การใช้กัญชาขณะขับรถ หรือใช้กัญชาแล้วไปขับรถ ว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูก หรือ ผิดกฎหมาย 

แต่ก่อนจะไปพูดถึงเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชาระหว่างขับรถ (ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป) เราไปดูถึงผลกระทบของผู้ที่ใช้กัญชาแล้วไปขับรถกันดีกว่า ว่ากัญชาจะส่งผลเอฟเฟกอะไรต่อผู้ขับขี่กันบ้าง

ดอกกัญชา
ดอกกัญชา

“กัญชา” ส่งผลให้ประสิทธิภาพของผู้ขับขี่จะลดลง

อย่างที่ทราบกันว่าสาร THC ในดอกกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการ “เมา” หรือที่สายเขียวนิยมเรียกว่า ลอย หรือ High นั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดทอนประสาทสัมผัสและการรับรู้ของผู้ขับขี่อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น การฟังเสียง การสัมผัส รวมถึงการตัดสินใจของผู้ขับขี่นั้นจะลดลงเป็นอย่างมาก

กัญชา ขับรถ

หากเลือกใช้ “กัญชา” ที่มีสาร THC ต่ำ (โดยมากจะมี CBD ที่สูง) ซึ่งไม่มีฤทธิ์เมา สามารถขับรถได้หรือไม่ ?

โดยส่วนมากแล้ว กัญชา สายพันธ์ที่มีค่า THC น้อย มักจะมีค่า CBD ที่สูง ซึ่งสาร CBD นี่จะนิยมใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ เครียด หรือวิตกกังวล ซึ่งมันจะออกฤทธิ์ทำให้ “ง่วง” และเคลิ้บเคลิ้ม ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่เป็นผลดีและไม่เหมาะสมนำมาใช้ในการขับรถทุกกรณี

ทำไม “ใบกระท่อม” ซึ่งเคยเป็นสารเสพติดเหมือนกัน ถึงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนขับรถบรรทุกหรือผู้ที่ใช้แรงงาน

ถึงแม้ว่า “ใบกระท่อม” จะเคยจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติดประเภทที่ 5 เช่นเดียวกับกัญชา แต่การออกฤทธิ์นั้นค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยใบกระท่อมนั้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ช่วยให้ตื่นตัวและสามารถทนต่อความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะที่กัญชานั้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และกดประสาทในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและง่วงนอนนั่นเอง

การสูบกัญชาในขณะขับรถ ถือว่าเป็นการสูบในพื้นที่สาธารณะ มีความผิดและโทษทางกฎหมาย

การสูบกัญชาในพื้นที่สาธารณะนั้น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณะสุข พ.ศ.2535 มีโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

แล้วถ้าหากไปกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา จะสามารถขับรถได้หรือไม่ ?

คาเฟ่ที่ขายอาหารประเภทกัญชานั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ แล้วถ้าหากขับรถไปเที่ยวกับเพื่อนแล้วแวะกินอาหารในร้านเหล่านี้ ซึ่งมักจะใส่ใบกัญชาลงไปในอาหาร จะสามารถขับรถได้หรือไม่ ?

กัญชา บราวนี่

อันนี้ต้องมาดูถึงปริมาณและส่วนของกัญชาที่ใส่ลงไปในอาหาร ซึ่งโดยมากแล้วร้านในลักษณะนี้ จะใช้ “ใบ” เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งใบกัญชาจะมีสาร THC และ CBD ที่ต่ำมากๆ ซึ่งไม่ส่งผลต่อการขับขี่ต่ออย่างใด แต่อาจต้องระวังในอาหารกลุ่มประเภทขนมที่ใส่ “ดอก” กัญชาเข้าไปเป็นจำนวนมาก อาทิ บราวนี่กัญชา หรือคุ๊กกี้กัญชา ซึ่งหากกินเข้าไปแล้วอาการมึนเมาจะยังคงไม่ออกฤทธิ์ในทันที จะทิ้งช่วงเวลาสักระยะหนึ่งจึงจะออกฤทธิ์ (ไม่เหมือนการสูบที่จะออกฤทธิ์แทบจะในทันที)

กัญชา

ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีกฎหมายข้อบังคับที่ชัดเจนออกมาจากทางภาครัฐ แต่การใช้กัญชา (ในลักษณะมึนเมา) ก่อนหรือในขณะขับรถ “เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง” เพราะถึงแม้ว่าจะยังไม่มีความผิดทางกฎหมายแน่ชัด แต่การใช้กัญชาก่อนหรือในขณะขับรถ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นเราอยากขอให้สายเขียวทุกท่านใช้กัญชาอย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : canceralliance.co.th / tyrud.go.th / freepik.com / unsplash.com

รับชมข่าวสารยานยนต์อื่นๆที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

 

 

บทความที่น่าสนใจ

Ford มีคำตอบสำหรับรถครอบครัว ที่คุณต้องการ

idiot

เผยโฉม Nissan IMk ต้นแบบรถพลังงานไฟฟ้าสำหรับคนเมืองยุคใหม่

idiot

เตรียมรับแรงกระแทก Toyota จ่อเปิดตัว ไฮเปอร์คาร์คันใหม่ 1,000 แรงม้า ที่เลอม็อง

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy