fbpx

สายเขียวต้องรู้ “สูบกัญชา” สามารถขับรถได้หรือไม่ !!

อยากที่ทราบกันว่า กัญชา ได้รับการปลดล๊อคที่รัฐบาลไทยเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยในขณะนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วง “สูญญากาศ” ซึ่งยังไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัดสำหรับ การใช้กัญชาขณะขับรถ หรือใช้กัญชาแล้วไปขับรถ ว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูก หรือ ผิดกฎหมาย 

แต่ก่อนจะไปพูดถึงเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชาระหว่างขับรถ (ในขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป) เราไปดูถึงผลกระทบของผู้ที่ใช้กัญชาแล้วไปขับรถกันดีกว่า ว่ากัญชาจะส่งผลเอฟเฟกอะไรต่อผู้ขับขี่กันบ้าง

ดอกกัญชา
ดอกกัญชา

“กัญชา” ส่งผลให้ประสิทธิภาพของผู้ขับขี่จะลดลง

อย่างที่ทราบกันว่าสาร THC ในดอกกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการ “เมา” หรือที่สายเขียวนิยมเรียกว่า ลอย หรือ High นั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดทอนประสาทสัมผัสและการรับรู้ของผู้ขับขี่อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็น การฟังเสียง การสัมผัส รวมถึงการตัดสินใจของผู้ขับขี่นั้นจะลดลงเป็นอย่างมาก

กัญชา ขับรถ

หากเลือกใช้ “กัญชา” ที่มีสาร THC ต่ำ (โดยมากจะมี CBD ที่สูง) ซึ่งไม่มีฤทธิ์เมา สามารถขับรถได้หรือไม่ ?

โดยส่วนมากแล้ว กัญชา สายพันธ์ที่มีค่า THC น้อย มักจะมีค่า CBD ที่สูง ซึ่งสาร CBD นี่จะนิยมใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ เครียด หรือวิตกกังวล ซึ่งมันจะออกฤทธิ์ทำให้ “ง่วง” และเคลิ้บเคลิ้ม ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่เป็นผลดีและไม่เหมาะสมนำมาใช้ในการขับรถทุกกรณี

ทำไม “ใบกระท่อม” ซึ่งเคยเป็นสารเสพติดเหมือนกัน ถึงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนขับรถบรรทุกหรือผู้ที่ใช้แรงงาน

ถึงแม้ว่า “ใบกระท่อม” จะเคยจัดอยู่ในกลุ่มสารเสพติดประเภทที่ 5 เช่นเดียวกับกัญชา แต่การออกฤทธิ์นั้นค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยใบกระท่อมนั้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ช่วยให้ตื่นตัวและสามารถทนต่อความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะที่กัญชานั้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และกดประสาทในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและง่วงนอนนั่นเอง

การสูบกัญชาในขณะขับรถ ถือว่าเป็นการสูบในพื้นที่สาธารณะ มีความผิดและโทษทางกฎหมาย

การสูบกัญชาในพื้นที่สาธารณะนั้น มีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณะสุข พ.ศ.2535 มีโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

แล้วถ้าหากไปกินอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา จะสามารถขับรถได้หรือไม่ ?

คาเฟ่ที่ขายอาหารประเภทกัญชานั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ แล้วถ้าหากขับรถไปเที่ยวกับเพื่อนแล้วแวะกินอาหารในร้านเหล่านี้ ซึ่งมักจะใส่ใบกัญชาลงไปในอาหาร จะสามารถขับรถได้หรือไม่ ?

กัญชา บราวนี่

อันนี้ต้องมาดูถึงปริมาณและส่วนของกัญชาที่ใส่ลงไปในอาหาร ซึ่งโดยมากแล้วร้านในลักษณะนี้ จะใช้ “ใบ” เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งใบกัญชาจะมีสาร THC และ CBD ที่ต่ำมากๆ ซึ่งไม่ส่งผลต่อการขับขี่ต่ออย่างใด แต่อาจต้องระวังในอาหารกลุ่มประเภทขนมที่ใส่ “ดอก” กัญชาเข้าไปเป็นจำนวนมาก อาทิ บราวนี่กัญชา หรือคุ๊กกี้กัญชา ซึ่งหากกินเข้าไปแล้วอาการมึนเมาจะยังคงไม่ออกฤทธิ์ในทันที จะทิ้งช่วงเวลาสักระยะหนึ่งจึงจะออกฤทธิ์ (ไม่เหมือนการสูบที่จะออกฤทธิ์แทบจะในทันที)

กัญชา

ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีกฎหมายข้อบังคับที่ชัดเจนออกมาจากทางภาครัฐ แต่การใช้กัญชา (ในลักษณะมึนเมา) ก่อนหรือในขณะขับรถ “เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง” เพราะถึงแม้ว่าจะยังไม่มีความผิดทางกฎหมายแน่ชัด แต่การใช้กัญชาก่อนหรือในขณะขับรถ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นเราอยากขอให้สายเขียวทุกท่านใช้กัญชาอย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : canceralliance.co.th / tyrud.go.th / freepik.com / unsplash.com

รับชมข่าวสารยานยนต์อื่นๆที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

 

 

บทความที่น่าสนใจ

2024 Nissan Z Nismo แอโรไดนามิกดีขึ้น แชสซีแข็งแกร่งขึ้น ขุมพลัง 420 แรงม้า

Peng

Lexus IS F เตรียมกลับมาผงาดอีกครั้ง ในปี 2022 กับขุมพลัง LS’ Twin-Turbo V6 แบบขับหลัง

idiot

All-New Honda Jazz ยืนยันพร้อมเปิดตัวที่ Tokyo Motor Show เดือนหน้า

Peng

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy