fbpx

เจาะ “อัตราดอกเบี้ย” รถยนต์แบบใหม่ (ลดต้น ลดดอก) ผู้เช่าซื้อได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

อยากที่ทราบกันว่าการผ่อนรถยนต์กับทางธนาคารนั้น จะมีการคิดดอกเบี้ยแบบ “อัตราคงที่” ซึ่งจะไม่สามารถ “โปะ” เพื่อ “ลดต้น ลดดอก” ได้เหมือนกับการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ฉบับใหม่ ให้คิดดอกเบี้ยแบบ “ลดต้น ลดดอก” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน หรือราววันที่ 11 มกราคม 2566

ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดใหม่ คุมเพดานดอกเบี้ยจาก 30% เหลือ 23%

โดยเนื้อหาใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ (ไฟแนนซ์) คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี หรือแบบลดต้นลดดอก โดยให้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (แบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่เช่าซื้อเสียเปรียบบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบใหม่นี้จะมีลักษณะคล้ายกับการผ่อนกู้ซื้อบ้าน-ที่อยู่อาศัย ที่การผ่อนชำระจะลดลงจากเงินต้นที่ลดลงไปด้วย รวมถึงยังได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่ โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ใหม่ – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 10% ต่อปี
  • รถยนต์ใช้แล้ว (มือสอง) – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
  • รถจักรยานยนต์ – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 23% ต่อปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุกสามปี

ปิดไฟแนนซ์ ได้ส่วนลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษา ยังได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อที่ “ปิดบัญชีก่อนกำหนด” (ปิดยอด) จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

  • 1. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่เกิน 1 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดไม่เกิน 60% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (ดอกเบี้ยคงเหลือ)
  • 2. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่ถึง 2 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดไม่เกิน 70% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (ดอกเบี้ยคงเหลือ)
  • 3. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยคงเหลือทั้งหมด

ไฟแนนซ์ น่าจะมีการขยับอัตราดอกเบี้ยใหม่ในปีหน้า

ถึงแม้ว่าทางภาครัฐจะออกข้อกำหนดมาเพื่อแบ่งเบาภาระและช่วยเหลือประชาชน แต่บริษัทไฟแนนซ์ก็ต้องการผลกำไรเช่นเดียวกัน ซึ่งคาดการณ์ว่าเมื่อข้อกำหนดใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ (ต้นปี 2023) บริษัทไฟแนนซ์น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อใหม่ (แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กำหนดไว้) เพื่อให้บริษัทยังคงสามารถทำผลกำไรจากการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้เช่าซื้อได้เหมือนเดิม

ใครได้ผลประโยชน์ จากการปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ?

จากข้างต้นที่กล่าวมา คนกลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์จาก ราชกิจจานุเบกษา ฉบับใหม่นี้ เราขอสรุปง่ายๆดังนี้ครับ

1. กลุ่มคนที่สามารถ “โปะ” ค่างวดรถได้ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาลดลง ซึ่งจะทำให้สามารถส่งรถจนหมดได้ไวมากยิ่งขึ้น

2. กลุ่มคนที่สามารถ “ปิด” ค่างวดรถได้ ซึ่งจะได้ส่วนลดดอกเบี้ยตามเรทที่ระบุไว้ ทำให้ผู้เช่าซื้อจ่ายดอกเบี้ยให้กับบริษัทไฟแนนซ์ต่ำลงนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความที่เรานำมาฝากทุกท่านกันในวันนี้ หากชื่นชอบก็อย่าลืมติดตาม Facebook Fanpage : ฅ-คนรักรถ Carlover และ Carvariety รวมถึง Youtube Channel : ฅ-คนรักรถ ไว้ด้วยนะครับ เราจะมีข่าวสารยานยนต์ดีๆมาฝากทุกท่านกันอย่างจุใจแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : one2car.com / prachachat.net

รับชมข่าวสารยานยนต์อื่นๆที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

บทความที่น่าสนใจ

Ken Block เสียชีวิตแล้วในวัย 55 ปี เนื่องจากอุบัติเหตุ !!

Nopkung

อนาคตบนเส้นทางรถไฟฟ้าของ ค่ายดาวสามแฉก อาจจะต้องฝากไว้กับ Mercedes-Benz SL คันนี้

idiot

ชมภาพคันจริง Ora Grand Cat น้องเหมียวไฟฟ้าคูเป้ 408 แรงม้า !!

Nopkung

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy