fbpx

เจาะ “อัตราดอกเบี้ย” รถยนต์แบบใหม่ (ลดต้น ลดดอก) ผู้เช่าซื้อได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?

อยากที่ทราบกันว่าการผ่อนรถยนต์กับทางธนาคารนั้น จะมีการคิดดอกเบี้ยแบบ “อัตราคงที่” ซึ่งจะไม่สามารถ “โปะ” เพื่อ “ลดต้น ลดดอก” ได้เหมือนกับการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย แต่ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ฉบับใหม่ ให้คิดดอกเบี้ยแบบ “ลดต้น ลดดอก” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน หรือราววันที่ 11 มกราคม 2566

ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดใหม่ คุมเพดานดอกเบี้ยจาก 30% เหลือ 23%

โดยเนื้อหาใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ (ไฟแนนซ์) คิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี หรือแบบลดต้นลดดอก โดยให้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (แบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่เช่าซื้อเสียเปรียบบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบใหม่นี้จะมีลักษณะคล้ายกับการผ่อนกู้ซื้อบ้าน-ที่อยู่อาศัย ที่การผ่อนชำระจะลดลงจากเงินต้นที่ลดลงไปด้วย รวมถึงยังได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่ โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดดังต่อไปนี้

  • รถยนต์ใหม่ – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 10% ต่อปี
  • รถยนต์ใช้แล้ว (มือสอง) – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
  • รถจักรยานยนต์ – ให้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 23% ต่อปี

ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุกสามปี

ปิดไฟแนนซ์ ได้ส่วนลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษา ยังได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อที่ “ปิดบัญชีก่อนกำหนด” (ปิดยอด) จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

  • 1. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่เกิน 1 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดไม่เกิน 60% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (ดอกเบี้ยคงเหลือ)
  • 2. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่ถึง 2 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดไม่เกิน 70% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ (ดอกเบี้ยคงเหลือ)
  • 3. หากจ่ายค่างวดมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของยอดกู้ซื้อ จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยคงเหลือทั้งหมด

ไฟแนนซ์ น่าจะมีการขยับอัตราดอกเบี้ยใหม่ในปีหน้า

ถึงแม้ว่าทางภาครัฐจะออกข้อกำหนดมาเพื่อแบ่งเบาภาระและช่วยเหลือประชาชน แต่บริษัทไฟแนนซ์ก็ต้องการผลกำไรเช่นเดียวกัน ซึ่งคาดการณ์ว่าเมื่อข้อกำหนดใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ (ต้นปี 2023) บริษัทไฟแนนซ์น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อใหม่ (แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กำหนดไว้) เพื่อให้บริษัทยังคงสามารถทำผลกำไรจากการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้เช่าซื้อได้เหมือนเดิม

ใครได้ผลประโยชน์ จากการปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ?

จากข้างต้นที่กล่าวมา คนกลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์จาก ราชกิจจานุเบกษา ฉบับใหม่นี้ เราขอสรุปง่ายๆดังนี้ครับ

1. กลุ่มคนที่สามารถ “โปะ” ค่างวดรถได้ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายตลอดอายุสัญญาลดลง ซึ่งจะทำให้สามารถส่งรถจนหมดได้ไวมากยิ่งขึ้น

2. กลุ่มคนที่สามารถ “ปิด” ค่างวดรถได้ ซึ่งจะได้ส่วนลดดอกเบี้ยตามเรทที่ระบุไว้ ทำให้ผู้เช่าซื้อจ่ายดอกเบี้ยให้กับบริษัทไฟแนนซ์ต่ำลงนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความที่เรานำมาฝากทุกท่านกันในวันนี้ หากชื่นชอบก็อย่าลืมติดตาม Facebook Fanpage : ฅ-คนรักรถ Carlover และ Carvariety รวมถึง Youtube Channel : ฅ-คนรักรถ ไว้ด้วยนะครับ เราจะมีข่าวสารยานยนต์ดีๆมาฝากทุกท่านกันอย่างจุใจแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : one2car.com / prachachat.net

รับชมข่าวสารยานยนต์อื่นๆที่น่าสนใจ คลิกที่นี่

รับชมคลิปวีดีโอทดสอบรถของเรา คลิกที่นี

บทความที่น่าสนใจ

Nissan Fairlady 480Z จากรถรุ่นเก่า สู่รถสปอร์ตรุ่นใหม่ในอนาคต

idiot

Volkswagen เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ GTI คาดรุ่นต่อไป เป็นรถไฟฟ้า 100%

Nopkung

Chevrolet Colorado 4th of July Edition รถกระบะรุ่นพิเศษฉลองวันชาติสหรัฐฯ เริ่มต้น 1.009 ล้านบาท

Peng

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy