พาชมการทำงานของถุงลมนิรภัยนอกตัวรถ กับการทดสอบให้เห็นจริงครั้งแรก!

พาชมการทำงานของถุงลมนิรภัยนอกตัวรถ กับการทดสอบให้เห็นจริงครั้งแรก!

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2018 ที่ผ่านมา ZF บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของเยอรมนี ได้มีการนำเสนอถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งอยู่ภายนอกตัวรถเป็นครั้งแรกของโลก นับตั้งแต่นั้นมาทางบริษัทก็ได้ปรับปรุงอุปกรณ์ดังกล่าวให้สมบูรณ์มากขึ้น และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะได้เห็นการทำงานของมันเป็นครั้งแรก

การถูกชนจากด้านข้างถือเป็นอุบัติเหตุที่อันตรายที่สุดประเภทหนึ่ง ซึ่งในประเทศเยอรมนีเพียงแห่งเดียวมีผู้เสียชีวิตเกือบ 700 รายต่อปี โดยจำนวนดังกล่าวนับเป็นเกือบหนึ่งในสามของผู้เสียชีวิตบนถนนทั้งหมดในประเทศเยอรมนี

ZF เชื่อว่าถุงลมนิรภัยนอกตัวรถซึ่งขณะนี้ยังเป็นรุ่นต้นแบบ สามารถช่วยชีวิตและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นั่นเป็นเพราะถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งอยู่ภายนอกสามารถลดแรงกระแทกจากรถยนต์ที่พุ่งเข้ามาชนได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

เพื่อให้ทำงานได้อย่างสมบูณ์แบบ ZF ได้เชื่อมต่อถุงลมนิรภัยเข้ากับระบบเซ็นเซอร์ของรถยนต์และ “อัลกอริธึมที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการระบุว่าการชนใกล้เข้ามาแล้ว และตัดสินใจว่าจะให้ถุงลมนิรภัยทำงานหรือไม่”

ความท้าทายที่ ZF ต้องเผชิญเมื่อพัฒนาระบบนี้คือ วิธีการจดจำการชนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และทำให้ถุงลมนิรภัยด้านข้างระเบิดออกมาใช้ก่อนที่จะเกิดการชน ระบบดังกล่าวมีเวลาเพียง 150 มิลลิวินาทีเท่านั้นในการตัดสินใจ ซึ่งเร็วเทียบเท่าเวลาที่คนเรากะพริบตาเลยทีเดียว

อีกหนึ่งความท้าทายคือถุงลมนิรภัยมีความจุระหว่าง 280 ถึง 400 ลิตร ซึ่งมากกว่าถุงลมนิรภัยภายในห้องโดยสาร 5-8 เท่า นั่นหมายความว่าจะถุงลมนิรภัยภายนอกจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการอัดลมเข้าไป

ทั้งนี้ภายในวิดีโอการทดสอบถุงลมนิรภัยภายนอกของ ZF ดูเหมือนว่ามันจะทำงานได้ดี แต่การสาธิตน่าจะบอกอะไรได้มากกว่านี้หากบริษัทใช้รถยนต์คันจริงๆ

 

บทความที่น่าสนใจ

แบตเตอรี่หมดไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ หากรู้วิธีพ่วงที่ถูกต้อง จำไว้ง่าย ๆ แค่ 5 ข้อ

idiot

เจาะลึก Honda Smart Engine เครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด จาก Honda เทคโนโลยีที่ดีที่สุดของรถครอบครัว

idiot

​4 วิธี ทำรถร้อนให้เย็นทันใจ หากจอดรถตากแดด

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy