โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2564 ชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 64,122 คัน ลดลง 17.7%ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 25,255 คัน ลดลง 13.5% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 38,867 คัน ลดลง 20.2% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,164 คัน ลดลง 21%
ประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน 2564 มีปริมาณการขาย 64,122 คัน ลดลง 17.7% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 13.5% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 20.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว บริการต่างๆ และสถานการณ์น้ำท่วมที่ลุกลามในหลายจังหวัด สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก และความสามารถในการซื้อของลูกค้าเป็นจำนวนมาก
ตลาดรถยนต์ในเดือนตุลาคมมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้ธุรกิจและประชาชนสามารถดำเนินชีวิต และประกอบธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมโรคโดยอนุญาตให้สถานประกอบการบางแห่งเปิดบริการ หรือสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยเริ่มทั่วถึงมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามอย่างเต็มที่ของภาครัฐ ในการส่งเสริมมาตรการทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภค ตลอดจนการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการนำร่องอย่าง Phuket sandbox Samui plus และ Pattaya move on จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ฟื้นคืนกลับมา รวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลายในหลายพื้นที่ และการเดินหน้าเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่เป็น Hi-season จะช่วยให้สถานการณ์ตลาดรถยนต์ดีขึ้นไปจนถึงสิ้นปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2564
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,122 คัน ลดลง 17.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 19,971 คัน | ลดลง 15.9% | ส่วนแบ่งตลาด 31.1% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 13,649 คัน | ลดลง 11.6% | ส่วนแบ่งตลาด 21.3% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 6,311 คัน | ลดลง 30.5% | ส่วนแบ่งตลาด 9.8% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,255 คัน ลดลง 13.5%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 5,849 คัน | ลดลง 23.0% | ส่วนแบ่งตลาด 23.2% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 5,237 คัน | ลดลง 3.6% | ส่วนแบ่งตลาด 20.7% |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 1,921 คัน | ลดลง 6.2% | ส่วนแบ่งตลาด 7.6% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 38,867 คัน ลดลง 20.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 14,734 คัน | ลดลง 19.6% | ส่วนแบ่งตลาด 37.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 13,649 คัน | ลดลง 11.6% | ส่วนแบ่งตลาด 35.1% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 2,101 คัน | ลดลง 26.2% | ส่วนแบ่งตลาด 5.4% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 30,164 คัน ลดลง 21%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 12,504 คัน | ลดลง 18.4% | ส่วนแบ่งตลาด 41.5% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 12,254 คัน | ลดลง 13.4% | ส่วนแบ่งตลาด 40.6% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 2,101 คัน | ลดลง 26.2% | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,037 คัน
โตโยต้า 1,461 คัน – อีซูซุ 804 คัน – ฟอร์ด 329 คัน – มิตซูบิชิ 328 คัน – นิสสัน 115 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,127 คัน ลดลง 20.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 11,450 คัน | ลดลง 17.5% | ส่วนแบ่งตลาด 42.2% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 11,043 คัน | ลดลง 16.2% | ส่วนแบ่งตลาด 40.7% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 1,772 คัน | ลดลง 24.0% | ส่วนแบ่งตลาด 6.5% |