fbpx
สรุปตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน ยอดขายรวม 71,716 คัน

สรุปตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน ยอดขายรวม 71,716 คัน หดตัวลดลงเพียง 3.2%

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 71,716 คัน แต่มีอัตราการหดตัวที่ลดลงเพียง 3.2%ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,793 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 47,923 คัน ลดลง 7.2% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 38,550 คัน ลดลง 5.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ประเด็นสำคัญ

ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2564 มีปริมาณการขาย 71,716 คัน ลดลง 3.2% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 5.9% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการท่องเที่ยว และบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้บริโภคยังคงชะลอการตัดสินใจซื้อ และรัดกุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อรอจังหวะการใช้จ่ายที่เหมาะสม

ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจต่างๆ และประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับในสภาวะปกติ ทั้งนี้ยังเป็นการลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว โดยสถานการณ์ตลาดรถยนต์จะขยับตัวดีขึ้น สืบเนื่องจากทุกค่ายรถยนต์ต่างแข่งขันกันนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายในช่วงสิ้นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากถึง 1,151,540 คน และยอดจองรถยนต์ในงานมากถึง 31,583 คัน ไม่นับรวมยอดจองรถยนต์ตามโชว์รูมผู้แทนจำหน่ายทุกยี่ห้อทั่วประเทศ ภายใต้ข้อเสนอพิเศษ “เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” เป็นตัวกระตุ้นการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของลูกค้าได้อย่างสัมฤทธิ์ผล แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย เป็นปัจจัยลบต่อสถานการณ์ตลาดรถยนต์และสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ต้องจับตามองต่อไป

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนตพฤศจิกายน 2564

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 71,716 คัน ลดลง 3.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

อันดับที่ 1 โตโยต้า 23,168 คัน ลดลง 9.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,419 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,624 คัน ลดลง 4.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,793 คัน เพิ่มขึ้น 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

อันดับที่ 1 ฮอนด้า 8,062 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 6,304 คัน ลดลง 0.9% ส่วนแบ่งตลาด 26.5%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 2,242 คัน ลดลง 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.4%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 47,923 คัน ลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 

อันดับที่ 1 อีซูซุ 18,419 คัน ลดลง 7.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,864 คัน ลดลง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,859 คัน เพิ่มขึ้น 7.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) 
ปริมาณการขาย 38,550 คัน ลดลง 5.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,956 คัน ลดลง 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,888 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,859 คัน เพิ่มขึ้น 7.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,410 คัน 
โตโยต้า 2,338 คัน – อีซูซุ 1,734 คัน – มิตซูบิชิ 651 คัน – ฟอร์ด 482 คัน – นิสสัน 205 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 33,140 คัน ลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 

อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,222 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,550 คัน ลดลง 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,377 คัน เพิ่มขึ้น 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

บทความที่น่าสนใจ

ห่างกันสักพัก VW และ Audi นำร่องเปลี่ยนโลโก้รณรงค์ Social Distancing ในช่วงวิกฤตโคโรน่า

idiot

ชมคันจริง Ford Everest และ Everest Sport ปรับดีไซน์-ออปชั่นใหม่ เหนือกว่าเดิมในทุกด้าน

Nopkung

ชมคันจริง Ford Ranger Raptor เสริมหล่อด้วยชุดแต่งจาก Hamer ในงาน Motor Show 2019

idiot

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy